วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จงตอบคำถาม สำหรับนักเรียนชั้น ป.6

1. คอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบต่างๆที่คล้ายคลึงกับมนุษย์อย่างไรบ้างจงอธิบาย

 ตอบ  คอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบต่างๆที่คล้ายคลึงกับมนุษย์ คือ 1  ซีพียู ทำหน้าที่คล้ายกับ

สมอง

ของคนเรา   2 เม้าส์  ทำหน้าที่คล้ายกับมือของมนุษย์  3 จอภาพ ทำงานคล้ายกับปากของ

มนุษย์

2. นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรกับการสร้างหุ่นยนต์มาแทนมนุษย์ จงอธิบาย

         

ตอบ  ผมไม่เห็นด้วยเพราะว่าห่นยนต์จะมาทำแทนมนุษย์ไม่ได้และบางทีหุ่นยนต์อาจจะทำ

งานผิดพลาดได้

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล


ฮาร์ดดิสก์ (อังกฤษ: hard disk) หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (ศัพท์บัญญัติ) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของบริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์

กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์


มนุษย์สร้างคอมพิวเตอร์ขึ้นมาโดยกำหนดการทำงานให้เหมือนกับการทำงานของมนุษย์
เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด


         1. พลังงานของคอมพิวเตอร์                                                          คอมพิวเตอร์ใช้พลังงานจากกระแสไฟฟ้า  ซึ่งใช้แรงดัน
ไฟฟ้าต่างกัน  ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้ต่อพ่วง  เช่น ซีพียู ใช้แรงดันต่ำกว่า 3 โวลต์  แผงวงจรหลักใช้แรงดัน  5 โวลต์  และอุปกรณ์ที่มีมอเตอร์ขับเคลื่อน  เช่น ฮาร์ดดิสก์  พัดลม  ใช้แรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์   ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์สำหรับแปลงแรงดันไฟฟ้าจากกระแสไฟฟ้าในบ้านให้ลดต่ำลง  เรียกว่า เพาเวอร์ซัพพลาย (Power supply)   และยังช่วยควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้คงที่อีกด้วย

 2. การรับรู้ คิด และโต้ตอบของคอมพิวเตอร์ 
                                                                                                                                                 คอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าได้หลายทางคล้ายมนุษย์  ข้อมูลที่รับเข้าจะถูกส่งไปที่ ซีพียู  เพื่อทำการประมวลผล   ข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว
                              จะเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อรอคำสั่งให้นำออกมาใช้งานต่อไป
3. หน่วยรับเข้า (Input Unit)   เป็นอุปกรณ์ในการนำข้อมูลคำสั่งหรือโปรแกรมเข้าสู่คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์  ได้แก่  แผงแป้นอักขระ หรือแป้นพิมพ์ (Keyboard)   เมาส์ (Mouse) 
v        แผงแป้นอักขระ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลทั้งตัวเลข  ตัวอักษร และ
สัญลักษณ์ต่าง ๆ  เข้าสู่คอมพิวเตอร์

v       เมาส์  (Mouse)  มีหน้าที่ในการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ  มีปุ่มสำหรับกดสั่งงานทำ
หน้าที่เหมือนกับกดปุ่ม Enter   
4. การคิดขอคอมพิวเตอร์
                                                                                                                                                            ข้อมูลที่รับเข้ามาจะส่งมาที่ซีพียู (CPU)   หรือหน่วยประมวลผลกลาง  ในซีพียูประกอบด้วยหน่วยควบคุม  หน่วยคำนวณ  และหน่วยความจำ

 5. หน่วยความจำหลัก  
                                                                                                                                                                ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งไว้เพื่อรอการประมวลผล  ข้อมูลที่ประมวลผลแล้วจะเก็บในหน่วยความจำหลัก   หน่วยความจำหลักมี  2  ชนิด คือ  หน่วยความจำแรม (RAM)  เป็นหน่วยความจำชั่วคราว  สามารถทำการแก้ไขข้อมูลเดิมได้  และหน่วยความจำรอม (ROM)  เป็นหน่วยความจำถาวร   ซึ่งผู้ผลิตจะบรรจุโปรแกรมลงไว้ ไม่สามารถแก้ไขได้

 6. หน่วยความจำสำรอง 
                                                                                                                                                                เนื่องจากข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกลบไปเมื่อเลิกใช้งาน  จึงต้องมีอุปกรณ์สำหรับบันทึกข้อมูลไว้ก่อน  เรียกว่าหน่วยความจำสำรอง  ได้แก่
v      ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)  เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีความจุข้อมูลสูงมาก  เก็บไว้
ในกล่องของเครื่อง  เพราะไม่ต้องเปลี่ยนแผ่นบันทึกข้อมูล  แผ่นดิสก์ทำด้วยโลหะแข็ง
 
v      ฟลอปปีดิสเก็ต  (Floppy Diskette)  มีช่องอยู่ด้านหน้าของกล่องเครื่องสำหรับใส่
แผ่นดิสเก็ต  ตัวแผ่นเป็นพลาสติกบิดงอได้  จึงเรียกว่าฟลอปปี  ซึ่งแปลว่าบิดงอนั่นเอง

 แผ่นบันทึกข้อมูลหรือดิสเก็ต  เป็นทั้งหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออกของคอมพิวเตอร์
ด้านล่างของแผ่นดิสเก็ตมีรูสี่เหลี่ยมข้างละรู  ที่รูด้านหนึ่งมีลิ้นปิด เปิดได้  ถ้าเปิดมองทะลุผ่านได้เป็นการป้องกันการบันทึกลงแผ่น  อ่านได้อย่างเดียว  ถ้าปิดรูไว้จะทำการบันทึกได้  เราจะเปิดการป้องกันการบันทึกเมื่อไม่ต้องการให้มีการบันทึกข้อมูลทับเข้ามาในแผ่นหรือ เมื่อนำข้อมูลไปใช้กับเครื่องอื่นและไม่แน่ใจว่ามีไวรัสในเครื่องหรือไม่

   7. หน่วยแสดงผล (OutputUnit) 
                                                                                                               ทำหน้าที่นำข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้วมาแสดงผลลัพธ์  ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้ทางอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล  ได้แก่ จอภาพ และเครื่องพิมพ์

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล
สมมตินักเรียนต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเรื่องอาชีพของคนในหมู่บ้านนักเรียนอาจเริ่มต้นด้วยการออกแบบสอบถามสำหรับ การไปสำรวจข้อมูลเพื่อให้ครอบครัวต่างๆในหมู่บ้านกรอกข้อมูลมีการส่งแบบสอบถามไปยังผู้กรอกข้อมูลเพื่อทำการกรอกรายละเอียด มีการเก็บรวมรวมข้อมูลมีเทคนิคและวิธีการหลายอย่างเช่นการใช้เครื่องจักรช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตรวจจากรหัสแท่งหรืออ่าน ข้อมูลที่ใช้ดินสอระบายตำแหน่ง ที่กรอกข้อมูลการตรวจสอบข้อมูล
เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และมีการตรวจทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
ข้อมูลที่จัดเก็บต้องถูกต้องและเชื่อถือได้เพราะหากข้อมูลไม่น่าเชื่อถือแล้ว สารสนเทศที่ได้จากข้อมูลนั้นก็ไม่น่าเชื่อถือด้วย
การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นแฟ้มข้อมูลนั้น เป็นขั้นที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง การไปสำรวจข้อมูลไม่ว่าในเรื่องอะไรส่วนใหญ่
จะรวบรวมข้อมูลมาหลายเรื่อง จำเป็นต้องแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเป็นเรื่องไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้การดำเนินการ
ในขั้นตอนต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
การจัดเรียงข้อมูล
ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการค้นหาหรืออ้างอิงในภายหลัง
การจัดเรียงข้อมูลเป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศวิธีหนึ่ง
การคำนวณ

ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นอักษร ข้อความ และตัวเลข ดังนั้นอาจมีความจำเป็นในการคำนวณจำนวนที่ได้มาจากข้อมูล เช่น หาค่าเฉลี่ย หาผลรวม
การทำรายงาน
การสรุปทำรายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งาน จะทำให้การใช้สารสนเทศมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น เพราะการทำรายงานเป็นวิธีการที่จะจัดรูปแบบข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามความต้องการ
การจัดเก็บ
ข้อมูลที่มีการสำรวจหรือรวบรวมมา และมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ จำเป็นต้องดำเนินการจัดเก็บเอาไว้
เพื่อใช้ในภายหลัง การจัดเก็บสมัยใหม่มักเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่  สามารถจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เช่น แผ่นบันทึกหรือซีดีรอม
การทำสำเนา
หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นใหม่ได้ การคัดลอกข้อมูลด้วยระบบทางคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล
เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้สามารถกระทำการแจกจ่ายได้โดยง่ายเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ช่วยให้การเผยแพร่ทำได้ กว้างขวางมากขึ้น ขั้นตอนเหล่านี้เป็นขั้นตอนให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ บางขั้นตอนเป็นการเก็บและตรวจสอบข้อมูลบางขั้นตอนเป็นการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศและบางขั้นตอนเป็นวิธีการจัดเก็บ สารสนเทศเพื่อประโยชน์ของการใช้งานในภายหลัง

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล
        แหล่งข้อมูลแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
     1. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จาก การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง (บาร์โด้ด : Barcode) เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก


เครื่องอ่านรหัสแท่ง
     2. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้เรียบร้อยแล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผล
เป็นสารสนเทศ แล้ว เช่น สถิติการนำเข้าและส่งออกสินค้า เป็นต้น

สถิติข้อมูล
            

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ                   ด.ช.กิตติชัย     ศรีสุข
ชื่อเล่น               อีด
โรงเรียน             บ้านไร่พรุ
อายุ                  12ปี
วันเกิด               30 เมษายน  2542
ที่อยู่                 81/2 ม.3 ต.น้ำผุด อ.เมื่อง
เพื่อนสนิด           ปาล์ม/บ่าว/ไมค์/เม้า/ยีน/ยุทธ/ภู/ตี๋/บอย
สีที่ชอบ              สีเขียว
อาหารที่ชอบ        ข้าวผัด
อนาคต              ทหาร
วิชาที่ชอบ           คอมพิวเตอร์

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประเภทของข้อมูล

ประเภทของข้อมูลข้อมูลมีหลายประเภท ดังนี้
1. ข้อมูลตัวอักษรimg7.gif คือ ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขที่ไม่ใช้ในการคำนวณ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศ เช่่น ทะเบียนรถยนต์ ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรทัศน์ บ้านเลขที่ เป็นต้น
2. ข้อมูลที่เป็นตัวเลข img8.gif คือ ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวเลข 0 ถึง 9 ใช้ในการคำนวณได้ เช่น คะแนน จำนวนเงิน ราคาสินค้า เป็นต้น
      





3. ข้อมูลภาพ a_cat_stripe.gif คือข้อมูลที่เป็นภาพอาจเป็นภาพนิ่ง เช่นภาพถ่าย ภาพวาด ภาพเคลื่อไหว เช่น ภาพจากวิดีทัศน์ เป็นต้น อาจเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ หรือแผ่นซีดี เป็นต้น



4. ข้อมูลเสียง คือ ข้อมูลที่รับรู้ด้วยการได้ยิน จัดเก็บอยู่ในสื่อคอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลข้อมูลเสียงด้วยลำโพง