วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล


ฮาร์ดดิสก์ (อังกฤษ: hard disk) หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (ศัพท์บัญญัติ) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของบริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์

กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์


มนุษย์สร้างคอมพิวเตอร์ขึ้นมาโดยกำหนดการทำงานให้เหมือนกับการทำงานของมนุษย์
เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด


         1. พลังงานของคอมพิวเตอร์                                                          คอมพิวเตอร์ใช้พลังงานจากกระแสไฟฟ้า  ซึ่งใช้แรงดัน
ไฟฟ้าต่างกัน  ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้ต่อพ่วง  เช่น ซีพียู ใช้แรงดันต่ำกว่า 3 โวลต์  แผงวงจรหลักใช้แรงดัน  5 โวลต์  และอุปกรณ์ที่มีมอเตอร์ขับเคลื่อน  เช่น ฮาร์ดดิสก์  พัดลม  ใช้แรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์   ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์สำหรับแปลงแรงดันไฟฟ้าจากกระแสไฟฟ้าในบ้านให้ลดต่ำลง  เรียกว่า เพาเวอร์ซัพพลาย (Power supply)   และยังช่วยควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้คงที่อีกด้วย

 2. การรับรู้ คิด และโต้ตอบของคอมพิวเตอร์ 
                                                                                                                                                 คอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าได้หลายทางคล้ายมนุษย์  ข้อมูลที่รับเข้าจะถูกส่งไปที่ ซีพียู  เพื่อทำการประมวลผล   ข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว
                              จะเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อรอคำสั่งให้นำออกมาใช้งานต่อไป
3. หน่วยรับเข้า (Input Unit)   เป็นอุปกรณ์ในการนำข้อมูลคำสั่งหรือโปรแกรมเข้าสู่คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์  ได้แก่  แผงแป้นอักขระ หรือแป้นพิมพ์ (Keyboard)   เมาส์ (Mouse) 
v        แผงแป้นอักขระ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลทั้งตัวเลข  ตัวอักษร และ
สัญลักษณ์ต่าง ๆ  เข้าสู่คอมพิวเตอร์

v       เมาส์  (Mouse)  มีหน้าที่ในการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ  มีปุ่มสำหรับกดสั่งงานทำ
หน้าที่เหมือนกับกดปุ่ม Enter   
4. การคิดขอคอมพิวเตอร์
                                                                                                                                                            ข้อมูลที่รับเข้ามาจะส่งมาที่ซีพียู (CPU)   หรือหน่วยประมวลผลกลาง  ในซีพียูประกอบด้วยหน่วยควบคุม  หน่วยคำนวณ  และหน่วยความจำ

 5. หน่วยความจำหลัก  
                                                                                                                                                                ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งไว้เพื่อรอการประมวลผล  ข้อมูลที่ประมวลผลแล้วจะเก็บในหน่วยความจำหลัก   หน่วยความจำหลักมี  2  ชนิด คือ  หน่วยความจำแรม (RAM)  เป็นหน่วยความจำชั่วคราว  สามารถทำการแก้ไขข้อมูลเดิมได้  และหน่วยความจำรอม (ROM)  เป็นหน่วยความจำถาวร   ซึ่งผู้ผลิตจะบรรจุโปรแกรมลงไว้ ไม่สามารถแก้ไขได้

 6. หน่วยความจำสำรอง 
                                                                                                                                                                เนื่องจากข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกลบไปเมื่อเลิกใช้งาน  จึงต้องมีอุปกรณ์สำหรับบันทึกข้อมูลไว้ก่อน  เรียกว่าหน่วยความจำสำรอง  ได้แก่
v      ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)  เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีความจุข้อมูลสูงมาก  เก็บไว้
ในกล่องของเครื่อง  เพราะไม่ต้องเปลี่ยนแผ่นบันทึกข้อมูล  แผ่นดิสก์ทำด้วยโลหะแข็ง
 
v      ฟลอปปีดิสเก็ต  (Floppy Diskette)  มีช่องอยู่ด้านหน้าของกล่องเครื่องสำหรับใส่
แผ่นดิสเก็ต  ตัวแผ่นเป็นพลาสติกบิดงอได้  จึงเรียกว่าฟลอปปี  ซึ่งแปลว่าบิดงอนั่นเอง

 แผ่นบันทึกข้อมูลหรือดิสเก็ต  เป็นทั้งหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออกของคอมพิวเตอร์
ด้านล่างของแผ่นดิสเก็ตมีรูสี่เหลี่ยมข้างละรู  ที่รูด้านหนึ่งมีลิ้นปิด เปิดได้  ถ้าเปิดมองทะลุผ่านได้เป็นการป้องกันการบันทึกลงแผ่น  อ่านได้อย่างเดียว  ถ้าปิดรูไว้จะทำการบันทึกได้  เราจะเปิดการป้องกันการบันทึกเมื่อไม่ต้องการให้มีการบันทึกข้อมูลทับเข้ามาในแผ่นหรือ เมื่อนำข้อมูลไปใช้กับเครื่องอื่นและไม่แน่ใจว่ามีไวรัสในเครื่องหรือไม่

   7. หน่วยแสดงผล (OutputUnit) 
                                                                                                               ทำหน้าที่นำข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้วมาแสดงผลลัพธ์  ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้ทางอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล  ได้แก่ จอภาพ และเครื่องพิมพ์

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล
สมมตินักเรียนต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเรื่องอาชีพของคนในหมู่บ้านนักเรียนอาจเริ่มต้นด้วยการออกแบบสอบถามสำหรับ การไปสำรวจข้อมูลเพื่อให้ครอบครัวต่างๆในหมู่บ้านกรอกข้อมูลมีการส่งแบบสอบถามไปยังผู้กรอกข้อมูลเพื่อทำการกรอกรายละเอียด มีการเก็บรวมรวมข้อมูลมีเทคนิคและวิธีการหลายอย่างเช่นการใช้เครื่องจักรช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตรวจจากรหัสแท่งหรืออ่าน ข้อมูลที่ใช้ดินสอระบายตำแหน่ง ที่กรอกข้อมูลการตรวจสอบข้อมูล
เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และมีการตรวจทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
ข้อมูลที่จัดเก็บต้องถูกต้องและเชื่อถือได้เพราะหากข้อมูลไม่น่าเชื่อถือแล้ว สารสนเทศที่ได้จากข้อมูลนั้นก็ไม่น่าเชื่อถือด้วย
การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นแฟ้มข้อมูลนั้น เป็นขั้นที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง การไปสำรวจข้อมูลไม่ว่าในเรื่องอะไรส่วนใหญ่
จะรวบรวมข้อมูลมาหลายเรื่อง จำเป็นต้องแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเป็นเรื่องไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้การดำเนินการ
ในขั้นตอนต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
การจัดเรียงข้อมูล
ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการค้นหาหรืออ้างอิงในภายหลัง
การจัดเรียงข้อมูลเป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศวิธีหนึ่ง
การคำนวณ

ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นอักษร ข้อความ และตัวเลข ดังนั้นอาจมีความจำเป็นในการคำนวณจำนวนที่ได้มาจากข้อมูล เช่น หาค่าเฉลี่ย หาผลรวม
การทำรายงาน
การสรุปทำรายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งาน จะทำให้การใช้สารสนเทศมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น เพราะการทำรายงานเป็นวิธีการที่จะจัดรูปแบบข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามความต้องการ
การจัดเก็บ
ข้อมูลที่มีการสำรวจหรือรวบรวมมา และมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ จำเป็นต้องดำเนินการจัดเก็บเอาไว้
เพื่อใช้ในภายหลัง การจัดเก็บสมัยใหม่มักเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่  สามารถจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เช่น แผ่นบันทึกหรือซีดีรอม
การทำสำเนา
หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นใหม่ได้ การคัดลอกข้อมูลด้วยระบบทางคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล
เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้สามารถกระทำการแจกจ่ายได้โดยง่ายเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ช่วยให้การเผยแพร่ทำได้ กว้างขวางมากขึ้น ขั้นตอนเหล่านี้เป็นขั้นตอนให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ บางขั้นตอนเป็นการเก็บและตรวจสอบข้อมูลบางขั้นตอนเป็นการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศและบางขั้นตอนเป็นวิธีการจัดเก็บ สารสนเทศเพื่อประโยชน์ของการใช้งานในภายหลัง